วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย



1.ประเพณีสืบชะตา เป็นประเพณีที่นิยมถือปฏิบัติกันของชาวไทยทางภาคเหนือ แต่ปัจจุบันความเชื่อและศรัทธาเริ่มกว้างมากขึ้น ในภาคอื่นๆ หรือแม้แต่ในหมู่คนกรุงฯ หรือวัยรุ่นมากขึ้น เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองและตัวบุคคล จึงมี การสืบชะตาบ้าน สืบชะตาเมือง และสืบชะตาคน
สืบชะตาเมือง เป็นประเพณีสำคัญของทางเชียงใหม่ที่จะต้องถือปฏิบัติกันทุกปี การทำบุญเมืองนั้นเพื่อสร้างความร่มเย็นเป็นสุขในแก่ชาวบ้านชาวเมือง เป็นการสร้างความสามัคคีพร้อมเพรียงให้เกิดขึ้นในหมู่ชาวเมือง เนื่องจากในสมัยโบราณกล่าวกันว่า การสืบชะตาเมืองมักจะจัดขึ้นในสองกรณีคือ
กรณีแรก จัดในยามที่บ้านเมืองเดือดร้อน ข้าวยากหมากแพง หรือเกิดศึกสงครามมีทั้งการสืบชะตาเมือง สืบชะตาเจ้าเมือง ทำบุญบูชาเซ่นไหว้ พระวิญญาณของเจ้าผู้ครองเชียงใหม่องค์ก่อนๆ ตลอดจน "พระเสื้อบ้าน พระเสื้อเมือง" เทพาอารักษ์ รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
กรณีที่สอง จัดในยามที่บ้านเมืองสงบสุข เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่บ้านเมือง ให้เสริมบารมีให้รุ่งเรืองยิ่งขึ้นไป



2.ประเพณีโล้ชิงช้าบ้านผาหมี จะมีการจัดขึ้นทุกๆ ปี ประมาณปลายเดือนสิงหาคม ถึงต้นเดือนกันยายนซึ่งจะตรงกับ ช่วงที่ผลผลิต กำลังงอกงาม และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วัน ในระหว่างนี้อ่าข่าจะดายหญ้าในไร่ข้าวเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากดายหญ้าแล้วก็รอสำหรับการเก็บเกี่ยว ตรงกับเดือนของอ่าข่าคือ “ฉ่อลาบาลา” ประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอ่าข่า ถือเป็นพิธีกรรมที่มีคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญาที่ใช้ในการส่งเสริมความรู้แล้ว ยังเกี่ยวพันกับการดำรงชีวิตประจำวันของอ่าข่าอีกมากมาย

3.ตักบาตรสามแผ่นดิน มหากุศลครั้งยิ่งใหญ่ในดินแดนล้านนา ตักบาตรพระ 3 แผ่นดิน ได้แก่ 1.ประเทศไทย 2.สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า และ 3.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 10,000 รูป ณ บริเวณหน้าด่านพรมแดน อ.แม่สาย จ.เชียงราย 

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

1.ถ้ำเสาหินพญานาค มีลักษณะเป็นหินย้อยลงมาจรดเบื้องล่าง มีสันฐานคล้ายเสาบ้านมีหลายๆต้น ในถ้ำนั้นลึกเข้าไปประมาณ ๕๐-๗๐ เมตร(เคยเป็นที่เก็บวัตถุโบราณ)ที่สุดของถ้ำเป็นที่โล่งกว้าง ณ ที่ตรงนี้จะเรียก ว่า ลาน(ข่วง)พญานาค อันเป็นที่มาของคำว่า"ถ้ำเสาหินพญานาค

2.วัดถ้ำปลา หรือ วัดพุทธสถานถ้ำปลา ตั้งอยู่ที่บ้านถ้ำปลา หมู่ที่ 14 ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดย ถ้ำปลา มีลักษณะเป็นลำธารเล็ก ๆ ไหลออกจากใต้ภูเขาหินปูน ไหลทะลุผ่านภูเขาหลายเส้นทางโดยไหลออกทางหน้าปากถ้ำด้านทิศตะวันออกสายน้ำ เหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจาก น้ำตกห้วยเนี้ย ถ้ำนี้วัดความกว้างได้ประมาณ 2.50 เมตร ความสูงวัดจากฝั่งน้ำขึ้นไป สูงประมาณ 1.50 เมตร น้ำลึกประมาณ 0.50 เมตร และภายในถ้ำยังมีพระพุทธรูปศิลปะพม่า สร้างขึ้นโดยพระภิกษุชาวพม่า ประชาชนทั่วไปเรียกว่า "พระทรงเครื่อง" เป็นที่เลื่อมใสของประชาชนในแถบนี้เป็นอย่างมาก


3.ขุนน้ำนางนอน เป็นแหล่งสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยา เกิดจากตาน้ำบริเวณเชิงเขาไหลรวมกันเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ และบนหน้าผาเหนือบึงน้ำยังเป็นที่ตั้งของ ถ้ำทรายทอง ถ้ำนี้มีความพิเศษตรงที่เป็นถ้ำลอด ภายในถ้ำยังไม่ได้มีการสำรวจ จึงมีความเป็นธรรมชาติอยู่สูงปราศจากการรบกวน ขุนน้ำนางนอนเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพรรณไม้ใหญ่นานาชนิด บรรยาการศร่มรื่น ชุ่มชื่น มีอาหาร เครื่องดื่มไว้บริการนักท่องเที่ยว การเดินทางสะดวกสบาย มีถนนตัดเข้าไปจนถึงเขตวนอุทยาน เปิดให้บริการตลอดทั้งปี นักท่องเที่ยวมักเข้ามาพักผ่อน เล่นน้ำ คลายร้อนกันในช่วงฤดูร้อน

4.วัดถ้ำผาจม ตั้งอยู่ในหุบเขาและอยู่ในแนวนอนเทือกเขาเขาลูกนี้เป็นรูปผู้หญิงนอนหงายสยายผมไปทางประเทศพม่า ฉะนั้น วัดถ้ำผาจมจึงอยู่ปลายผม เมื่อมองไปทางทิศตะวันออกจะเห็นพระธาตุดอยเวา ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณหนึ่งกิโลเมตร และจะเห็นเทือกเขาเป็นคุ้งมังกรสวยงามมาก สถานที่ ที่วัดถ้ำผาจมตั้งอยู่นั้น เป็นช่วงปากของมังกร มีธรรมชาติรอบบริเวณวัดสวยงาม สงบ ข้าพเจ้าผู้เรียบเรียง ได้เคยไปประเทศอินเดียเมื่อขึ้นไปบนภูเขาคิชณกูฎ มองลงมายังกรุงราชคฤห์เก่า จะเห็นเป็นแงซึ่งมีภูเขาห้าลูกล้อมรอบ วายงามมาก

5.วัดพระธาตุดอยเวา พระธาตุดอยเวา พระธาตุเหนือสุดแดนสยาม ห่างจากพรมแดนเพียง 500 เมตร
ที่อยู่ ถนนพหลโยธิน ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตามประวัติกล่าว พระองค์เวาหรือเว้า ผู้ครองนครนาคพันธ์โยนก เป็นผู้สร้างเพื่อบรรจุพระเกศาธาตุองค์หนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 364 นับเป็นพระบรมธาตุที่เก่าแก่องค์หนึ่งรองมาจากพระบรมธาตุดอยตุง นอกจากนี้ยังมีหอชมทิวทัศน์ซึ่งสามารถชมทิวทัศน์ในตัวเมืองแม่สาย และจังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนม่าร์ ได้อย่างชัดเจน และยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุเสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ และพระสุพรรณกัลยา


6.ตลาดชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก ตลาดชายแดนไทย-พม่า จำหน่ายสินค้านานาชนิด ประเภทอัญมณี พลอยสี ทับทิม หยก เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้าแฟชั่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เครื่องประดับ รองเท้า กระเป๋า เสื้อกันหนาว อาหารทะเลแห้ง เหล้า บุหรี่ ของเล่นเด็ก ผ้าห่ม ของใช้ ของกิน ขนม ฯลฯ ราคาตั้งแต่หลักสิบถึงหลักพัน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจากประเทศจีน
        เมื่อข้ามมาฝั่งท่าขี้เหล็กจะมีรถสามล้อเชิญชวนให้นั่งรถไปท่องเที่ยวเจดีย์ชเวดากองจำลอง ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปจากชายแดนประ-มาณ 2 กม. ลักษณะเป็นเจดีย์สีทองแบบพม่า สร้างจำลองมาจากเจดีย์ชเวดากองที่เมืองย่างกุ้ง ราคา 50-80 บาท นอกจากนี้ยังมีมอเตอร์ไซค์รับจ้างพาไปยังจุดต่าง ๆ เช่นตลาดพลอย 20 บาท แต่ควรตกลงราคาก่อนว่าเป็นราคาเที่ยวเดียว หรือราคาเหมา (ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง ควรสอบถามราคาให้แน่ชัดก่อนการเดินทาง)

7.ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ /ร้านจันกะผัก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ดำเนินการจัดตั้ง "ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ" ขึ้น เป็นที่ระลึกในวาระครบรอบ 100 ปี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุง และพัฒนาพันธุ์พืช ให้เกษตรกรได้มีพืชที่มีสายพันธุ์ที่ดี ทนทานต่อโรคและแมลง ได้ผลผลิตที่ดี








1.

อาหารน่าสนใจในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

1.ขาหมูหมั่นโถ

2.ข้าวกันจิ้น

3.ข้าวซอนน้อย

4.ข้าวปุกงาดำ

5.ข้าวฟืนอุ่น

6.ข้าวเหลืองไก่

7.ข้าวแรมฟืน

8.สุกี้ยูนนาน

9.เสี่ยวหลงเปา



ข้อมูลจาก : www.maesai.go.th

ชนเผ่าในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในแำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายมีอยู่ 10 ชนเผ่า ได้แก่


1.ไทยวน (อ่านว่า ไท-ยวน) หรือ ไตยวน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลภาษาไท-กะไดกลุ่มหนึ่งที่ตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของประเทศไทยที่เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนา ในอดีตคนล้านนามีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือ "ไทยวน" ซึ่งมีคำเรียกตนเองหลายอย่าง เช่น "ยวน โยน หรือ ไต(ไท)" และถึงแม้ในปัจจุบัน ชาวล้านนาจะกลายเป็นพลเมืองของประเทศไทยแล้วก็ตาม แต่ก็มักเรียกตนเองว่า "คนเมือง" ซึ่งเป็นคำเรียกที่เกิดขึ้นในภายหลัง ในยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง เพื่อฟื้นฟูประชากรในล้านนาหลังสงคราม โดยการกวาดต้อนกลุ่มคนจากที่ต่างๆเข้ามายังเมืองของตน


2.ไทลื้อ หรือ ไตลื้อ เป็นชาวไทกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแถบสิบสองปันนาของจีน มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือการใช้ภาษาไทลื้อ และยังมีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์อื่นๆ เช่น การแต่งกาย ศิลปะและประเพณีต่าง ๆ


3.ไทใหญ่ หรือ ฉาน หรือ เงี้ยว (แปลว่า งู) ซึ่งเป็นคำเรียกที่ไม่สุภาพ คือกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาไท-กะได ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่อันดับสองของพม่า ส่วนมากอาศัยในรัฐฉาน ประเทศพม่า และบางส่วนอาศัยอยู่บริเวณดอยไตแลง ชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า คนไทใหญ่ในประเทศพม่ามีประมาณ 3 หรือ 4 ล้านคน แต่มีไทใหญ่หลายแสนคน ที่ได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทยเพื่อหนีปัญหาทางการเมืองและการหางาน ตามภาษาของเขาเองจะเรียกตัวเอง ไต หรือ ไต (ตามสำเนียงไทย) มีหลายกลุ่ม เช่น ไตขืน ไตแหลง ไตคัมตี ไตลื้อ และไตมาว แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือ ไตโหลง ไต = ไท และ โหลง (หลวง) = ใหญ่ ซึ่งคนไทยเรียก ไทใหญ่ เหตุฉะนั้นจะเห็นได้ว่าภาษาไต และภาษาไทยคล้ายกันบ้างแต่ไม่เหมือนกัน




4.ลัวะ หรือละว้า เป็นเจ้าของถิ่นเดิมภาคเหนือก่อนที่ไทยเราจะอพยพลงมาสู่แคว้นสุวรรณภูมิ ตามตำนานของเชียงรายได้บันทึกไว้ว่า ชาวละง้าเคยมีอำนาจปกครองไทยสมัยหนึ่ง แต่ต่อมาภายหลังได้เกิดการต่อสู้รบพุ่งกัน ไทยประสบชัยชนะได้ฆ่าฟันขับไล่และทำลายล้างชาติละว้า ชาวละว้าหรือลัวะเป็นจำนวนไม่น้อยที่หนีกระจัดกระจายไปอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง อาศัยอยู่ในบริเวณห่างไกลจากเขตเจริญ โดยตั้งบ้านเรือนรวมกันเป็นหมู่บ้านเฉพาะพวกของเขา ครั้นบ้านเมืองย่างเข้าสู่ความเจริญโดยมีถนนหนทางติดต่อไปมาทั่วถึงกัน รัฐบาลไทยได้ขยายการศึกษาแพร่หลายออกไป บรรดาลูกหลานชาวลัวะซึ่งนับถือศาสนาพุทธมาตั้งแต่ดั้งเดิม และมีขนบธรรมเนียมประเพณีคล้ายคลึงคนไทยเผ่าอื่น ๆ ก็กลายเป็นชาวเหนือ มากขึ้นทุกที ซึ่งอาจทำนายได้ว่าอนาคตอันใกล้นี้ชาวลัวะจะต้องสิ้นสูญชาติไปอย่างแน่นอน


5.ชาวปะหล่องเรียกตัวเองว่า Ta-ang ส่วนคำว่า ปะหล่อง มาจากภาษาไทใหญ่ ไทใหญ่บางกลุ่มเรียก "คุณลอย" หมายถึง คนดอย ส่วนชาว พม่าเรียก “ปะลวง” ชาวปะหล่องส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐชาน รัฐคะฉิ่นในพม่า และยูนนานในประเทศจีน ชาว ปะหล่องในประเทศไทยอพยพมาจากพม่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.2527 เรียกตัวเองว่า "ดาระอั้ง" (Da-ang, ra-rang, ta-ang) เอกสาร ประวัติศาสตร์หลายฉบับกล่าวว่า ชาวปะหล่องเป็นพลเมืองกลุ่มหนึ่งใต้้การปกครองของนครรัฐแสนหวี ชาวปะหล่องที่อพยพเข้ามาใน จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณดอยอ่างขาง อำเภอฝาง ถือเป็นบุคคลที่อพยพเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย


6.ลาหู่ หรือ มูเซอ อาศัยอยู่ในประเทศจีน เมื่อถูกรุกรานจึงอพยพมาทางตอนใต้เข้าสู่ประเทศพม่า และทางเหนือของประเทศไทย เมื่อกว่า 13 ปีมาแล้ว โดยเข้ามาทางอำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย, อำเภอฝาง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่, และอำเภอบางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเพียงส่วนน้อยที่มาจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มูเซอที่รู้จักกันมาก ได้แก่ มูเซอดำ มูเซอแดง มีวัฒนธรรมประเพณีคล้ายคลึงกัน มูเซอ เป็นภาษาพม่า แปลว่า นายพราน เนื่องจากมีความชำนาญในการล่าสัตว์โดยใช้หน้าไม้ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า ลาฮู ในกลุ่มมูเซอดำ เรียกว่า ลาฮูนา มูเซอแดง เรียกว่า ลาฮูยี



7.ชนเผ่าอาข่าเป็นชนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีบรรพบุรุษพื้นเพเดิม อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ในประเทศจีนเรียกว่า “ฮานี หรือ โวน” โดยมีเส้นทาง 2 เส้นทาง คือ เส้นทางแรก อพยพจากประเทศพม่าแคว้นเชียงตุง เข้าสู่ประเทศไทยเนื่องจากเกิดปัญหาทางการเมือง ด้านฝั่งเขตอำเภอแม่จัน ทางหมู่บ้านพญาไพร (ปัจจุบันเป็นอำเภอแม่ฟ้าหลวง) และเส้นทางที่สอง อพยพโดยตรงจากประเทศจีนโดยเดินทางผ่านบริเวณตะเข็บชายแดนพม่า และแม่น้ำโขงประเทศลาว และเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรงที่อำเภอแม่สาย

8.ไทเขินเป็นชนชาติหนึ่งในกลุ่มไต ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน เมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า ไทเขินเรียกตัวเองว่า “ขึน” ซึ่งมาจากชื่อแม่น้ำในเมืองเชียงตุงภาษาพูดและเขียนของไทเขินมีความคล้ายคลึงกันกับไทยองและไทลื้อมาก พูดภาษาภาษาไทขึน ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มภาษาย่อยไทพายัพ ในกลุ่มภาษาคำ-ไต ตระกูลภาษาไท-กะได ในประเทศไทยพบชาวไทยเขินบริเวณสันป่าตอง สันกำแพง แม่แตง ดอยสะเก็ด และในเขตอำเภอเมือง ในจังหวัดเชียงใหม่

9.ไทหย่า คือกลุ่มชนชาวไทกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีถิ่นอาศัยเดิมในตำบลโมซาเจียง อำเภอซินผิง จังหวัดยิ่วซี มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ชาวจีนเรียกคนไทกลุ่มนี้ว่าฮวาเย่าไต แปลว่าไทเอวลาย ชาวไทหย่าบางส่วนได้อพยพมายังสิบสองปันนา บางส่วนเข้าสู่พม่าและไทยมีประชากร 60,000 คน พูดภาษาไท (ไทตะวันตกเฉียงใต้) ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มภาษากัม-ไท ตระกูลภาษาไท-กะได


10.ชาวไทยเชื้อสายจีน คือ ชาวจีนที่เกิดในประเทศไทยและเป็นเชื้อสายของผู้อพยพชาวจีน หรือชาวจีนโพ้นทะเล คนไทยเชื้อสายจีน มีประมาณ 9.4 ล้านคนในประเทศไทย หรือ 14% ของประชากรทั้งประเทศ และยังมีอีกจำนวนมากไม่สามารถนับได้ เพราะที่กลมกลืนกับคนไทยไปแล้วโดยการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ

ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากบรรพบุรษจะมาจากจังหวัดแต้จิ๋ว ในมณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของจีน พูดภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นภาษากลุ่มหมินหนาน รองลงมาคือมาจาก แคะ ฮกเกี้ยน และไหหลำ



ข้อมูลจาก : https://th.wikipedia.org

แผนที่ท่องเที่ยวอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

























ที่มาภาพ : http://www.chiangraifocus.com/2010/aumpher.php?aid=11

ข้อมูลทั่วไปอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

เนื้อที่ / พื้นที่ 285 ตร.กม
สภาพภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู
การปกครอง
หมู่บ้าน 87 หมู่บ้าน  ตำบล 8 ตำบล
เทศบาล 2 แห่ง  องค์การบริหารส่วนตำบล 8 แห่ง
       
อาชีพ
อาชีพหลัก เกษตร ทำนา ค้าขาย ตามบริเวณด่านพรมแดนไทย - พม่า ทำสวน สตรอเบอรี่, ไผ่กวนอิม
อาชีพรอง  เลี้ยงสัตว์ หัตถกรรมพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP
การศึกษา
โรงเรียนประถม 54  โรง
โรงเรียนมัธยม 5  โรง
วิทยาลัย / มหาวิทยาลัย 1  แห่ง
ศาสนา
วัด 69 แห่ง
โบสถ์ 0 แห่ง
มัสยิด / สุเหร่า 0 แห่ง
ประชากร
จำนวนประชากรชาย 39,174 คน
จำนวนประชากรหญิง 41,404 คน
รวม 80,578 คน
ความหนาแน่น 282.72 คน/ตร.กม.
การเกษตรและอุตสาหกรรม
ผลผลิตทางการเกษตร ข้าวเหนียว ข้าวจ้าว กระเทียมพื้นเมือง กระเทียมพันธุ์จีน หอมแดง ยาสูบ ถั่วเหลือง สตอร์เบอรี่ แตงโม สับปะรด ลิ้นจี่ ลำไย ดอกเบญจมาศ ไผ่กวนอิม

แหล่งน้ำสำคัญ แม่น้ำสาย แม่น้ำรวก อ่างเก็บน้ำห้วยไคร้ อ่างเก็บน้ำถ้ำเสาหินพญานาค

โรงงานอุตสาหกรรม  โรงงานตะเกียบสุจริต บ้านจ้อง ม.1 ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย ผลิตดอกไม้ ผลไม้ประดิษฐ์และสินค้าหัตถกรรม ม.8 ต.แม่สาย อ.แม่สาย

คำขวัญประจำอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย